ค่า EER/SEER บนฉลากเบอร์ 5 คืออะไร

ค่า eer/seer บนฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5

เข้าหน้าร้อนทีไร ถึงกับต้องปาดเหงื่อกับค่าไฟตลอด ต้องไปนั่งไล่เช็คว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวไหนเปลืองไฟ ซึ่งอันดับแรกที่เรามักจะนึกถึงเลยนั้นก็คือเครื่องปรับอากาศ หรือว่าแอร์นั้นเอง อย่างไรก็ดีปัจจุบันแอร์พัฒนาไปเยอะมากเมื่อเทียบกับ 10 ปี ก่อน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการประหยัดไฟ ฟังก์ชั่นในการทำงาน หรือแม้กระทั่งราคาขายที่มีราคาถูกลง ในบทความนี้ก็จะพาทุกคนมาดูวิธีการคำนวณและการเลือกแอร์ให้คุ้มค่ากับการซื้อและใช้งาน โดยดูจากค่า eer และค่า seer บนฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 กัน

วันนี้ก็เลยจะพามาเลือกแอร์ที่ประหยัดไฟให้เราได้มากที่สุดซึ่งค่าที่เราจำเป็นต้องดูก่อนเลือกซื้อเลยนั้นก็คือค่า EER (Energy Efficiency Ratio) คือค่าที่เอาไว้ใช้ในการวัดประสิทธิภาพในการใช้พลังงานของเครื่องปรับอากาศ หรือบางเจ้าก็จะใช้ค่า SEER (Seasonal Energy Efficiancy Ratio) คือค่าที่ใช้วัดประสิทธิภาพในการใช้พลังงานตามฤดูกาลของเครื่องปรับอากาศ ค่าพวกนี้เราสามารถหาดูได้ตามโบชัวร์ตามเว็บของเครื่องใช้ไฟฟ้ายี่ห้อนั้น หรือถ้าเราอยู่หน้าร้านขายของแล้วก็สามารถดูฉลากเบอร์ 5 ที่ติดมากับตัวเครื่องปรับอากาศเลยก็ได้

ซึ่งสูตรของค่า EER สามารถเขียนได้ดังนี้

    \[EER={Cooling Capacity(Btu/h) \over Power Input (Watt)}\]

ความหมายของสูตรข้างต้น จะทำให้เราสังเกตุเห็นอัตราส่วนของความสามารถในการทำความเย็นในหน่วย Btu/hr เทียบกับพลังงานที่ใช้ไปในหน่วย Watt ณ อุณหภูมิจุดใดจุดหนึ่งในสภาพแวดล้อม

อย่างไรก็ดีทาง EGAT จะใช้ค่า SEER เป็นหลักในการพิจารณาการให้ดาวกับแอร์รุ่นนั้นๆ

โดยสูตรของ SEER นั้นจะอยู่ในรูป

    \[SEER=\frac{\sum_{i=1}^{n}(Cooling Capacity*Hr)}{\sum_{i=1}^{n}(Power Input*Hr)}\]

ซึ่งจะสังเกตเห็นว่าเป็นค่าเฉลี่ยของประสิทธิภาพในการใช้พลังงานตามฤดุกาลของเครื่องปรับอากาศ โดยจะดูสมเหตุสมผลกว่าเนื่องจากไม่ได้เลือกที่อุณหภูมิใดอุณหภูมินึงมาคิดเท่านั้น

อย่างไรก็ดี สามารถไปทำความเข้าใจกันต่อได้ที่แหล่งที่มาของสูตรนี้เลย

Ref: ที่มาของสูตร

เกณฑ์ในการให้ดาวสำหรับฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5

หลักการให้ดาวของ EGAT จะใช้ค่า SEER เป็นหลักในการแบ่งเกณฑ์โดยจะแบ่งเกณฑ์การให้ดาวเป็น 2 ประเภทคือแอร์ non-inverter ในที่นี้จะเรียกว่า Fixed Speed และแอร์ Inverter

เกณฑ์การให้ดาวเครื่องปรับอากาศสำหรับฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 eer/seer

Ref: เกณฑ์การให้ดาว

จากรูปข้างต้นก็จะเห็นว่ายิ่งแอร์ที่มี 3 ดาวก็จะมีค่า SEER ที่มากกว่าแอร์ที่ไม่มีดาวนั้นเอง จึงสรุปได้ว่าก่อนเลือกซื้อแอร์ก็สามารถดูที่ฉลากเบอร์ 5 แล้วเปรียบเทียบราคาของแต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อได้เลย โดยต้องเทียบเคียงกับรุ่นที่มีจำนวนดาวเท่ากัน

โดยฉลากเบอร์ 5 พร้อมกับดาว 3 ดวงถือว่าแอร์ตัวนั้นประหยัดไฟมากที่สุด รองลงมาคือ 2 ดาว และ1 ดาว ส่วนเลข 5 ที่ไม่มีดาวก็จะประหยัดไฟน้อยที่สุดนั้นเอง

อย่างไรก็ดี ยิ่งแอร์ที่มี 3 ดาวจะราคาแพงกว่า แอร์ที่ไม่มีดาวเสมอ หลายคนก็อาจจะสงสัยในเมื่อแอร์ 3 ดาว มันแพงกว่า แล้วมันจะคุ้มค่าได้อย่างไร จึงเป็นที่มาในหัวข้อต่อไป

ตัวอย่างการคำนวณค่าไฟจากการใช้แอร์

ในการคำนวณทั้งหมดจะใช้เงื่อนไขว่า แต่ละวันเปิดแอร์เป็นจำนวน 8 ชั่วโมง และเปิดเป็นระยะ 30 วัน ซึ่งจะคิดเป็นจำนวนชั่วโมงทั้งหมดเท่ากับ 240 ชั่วโมง และจะใช้ค่าเฉลี่ยของความสามารถในการทำความเย็นมาคำนวณ

โดยข้อมูลของแอร์ทั้งหมดที่ใช้คำนวณในตัวอย่างนี้สามารถเข้าไปดูเพิ่มเติมได้ที่ลิ้งนี้


Example 1 คำนวณค่าไฟจาก Btu/h เดียวกันแต่คนละรุ่น ด้วยค่า seer

จะลองใช้แอร์ของ Panasonic มาเป็นตัวอย่างในการคำนวณโดยจะเปรียบเทียบระหว่าง

แอร์ Panasonic รุ่น CS-YN24YKT มีความสามารถในการทำความเย็น (Cooling capacity) ที่ 20,923 btu/hr ที่มีค่า SEER ต่ำอยู่ที่ 13.68 ซึ่งไม่มีดาวตามฉลากเบอร์ 5 โดยมีราคา 26,200 บาท เปรียบเทียบกับ

แอร์ Panasonic รุ่น CS-XKU24XKT มีความสามารถในการทำความเย็น (Cooling capacity) ที่ 20,923 btu/hr ที่มีค่า SEER สูงกว่าอยู่ที่ 21.46 ซึ่งได้ดาว 2 ตามฉลากเบอร์ 5 โดยทำราคา 39,300 บาท

ราคาต่างกันถึง 13,100 บาท

แอร์ CS-YN24YKT จะกินพลังงานอยู่ที 20923/13.68= 1,529 Watt เปิด 30 วัน คิดเป็นการใช้พลังงาน 367.07 Kw.h ในขณะที่
แอร์ รุ่น CS-XKU24XKT จะกินพลังงานอยู่ที่ 20923/21.46= 974.98 Watt เปิด 30 วัน คิดเป็นการใช้พลังงาน 234 Kw.h
หรือถ้าเทียบเป็นหน่วยแล้วในหนึ่งเดือนจะต่างกันอยู่ที่ 133 หน่วยเลยทีเดียว หากคิดเป็นจำนวนเงินก็อยู่ที่ 526.68 บาทต่อเดือน (คิดค่าไฟเฉลี่ยต่อหน่วยที่ 3.96 บาทต่อหน่วย) หากใช้ไป 1 ปี โดยใช้เงื่อนไขว่าแอร์ทั้งปีรวม 6 เดือนก็สามารถประหยัดได้ถึง 3,160 บาท ซึ่งถ้านำมาคิดเพื่อความคุ้มค่าก็จะอยู่ที่ ประมาณ 4 ปี เท่านั้น หลังจากนั้นปีต่อไป แอร์ที่ราคาแพงกว่าก็จะมีความคุ้มค่ามากกว่าแอร์ที่ราคาถูกกว่าทันที

โดยปกติแล้วอายุการใช้งานแอร์นั้นก็ค่อนข้างยาวอยู่ที่ 10-15 ปี ดังนั้นในกรณีตัวอย่างข้างต้น ถ้าหากใช้แอร์ไป 15 ปี ก็สามารถประหยัดไปได้มากถึง 34,760 บาทเลยทีเดียว


Example 2 คำนวณค่าไฟจากแอร์ต่าง Btu/h ด้วยค่า seer

บางท่านอาจจะคิดว่ายิ่งเลือกแอร์ที่มี btu เยอะก็จะยิ่งเปลืองค่าไฟ แต่จริงๆแล้วก็อาจจะไม่เสมอไป ในตัวอย่างนี้จะใช้

แอร์ Panasonic รุ่น CS-KU9XKT ที่มีขนาด 8,870 Btu/h มีค่า SEER 15.83 ราคา 18,100 บาท ได้รับฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ไม่มีดาว เปรียบเทียบกับ

แอร์ Panasonic รุ่น CS-XKU13XKT ที่มีค่า 11,747 Btu/h แต่มีค่า SEER สูงถึง 21.09 ราคา 24,900 บาท ที่ได้รับฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 พร้อมดาว 2 ดวง

เช่นเดิม ลองคำนวณโดยการเปิดแอร์วันละ 8 ชั่วโมง/วัน เป็นระยะเวลา 30 วัน ซึ่งก็คือ 240 ชั่วโมง

CS-KU9XKT จะกินพลังงานอยู่ที 8,870/15.83 = 560.33 Watt เปิด 30 วัน คิดเป็นการใช้พลังงาน 134.48 Kw.h

CS-XKU13XKT จะกินพลังงานอยู่ที่ 11,747/21.09 = 557 Watt เปิด 30 วัน คิดเป็นการใช้พลังงาน 133.68 Kw.h

จากการคำนวณข้างต้นจะเห็นว่าแอร์ที่ความสามารถในการทำความเย็นที่มากกว่า (Btu/h สูง) กลับกินไฟน้อยกว่าแอร์ที่ความสามารถในการทำความเย็นที่น้อยกว่า (Btu/h ต่ำ)

อย่างไรก็ดี ถึงแม้ว่าจะเสียค่าไฟต่อเดือนไม่ต่างกันมาก แต่ก็ต้องแลกมาด้วยราคาซื้อที่ต่างกัน ดังนั้นตัวอย่างนี้ก็จึงเป็นเพียงข้อสังเกตว่าแอร์ตัวที่มีความสามารถในการทำความเย็น (Btu/h)มากกว่าไม่ได้กินไฟมากกว่าตัวที่ความสามารถในการทำเย็น (Btu/h) ต่ำกว่าเสมอไป


สุดท้ายนี้ จึงอยากแนะนำให้เลือกแอร์ที่เป็น Inverter เพราะจะช่วยให้เราประหยัดไฟได้มากกว่ารุ่นที่ไม่ Inverter ถ้าหากเทียบระยะเวลาในการใช้งานแล้ว รุ่น Inverter จะมีความคุ้มค่ามากกว่านั้นเอง เพราะอายุการใช้งานแอร์ตัวนึงค่อนข้างนาน ก็จะช่วยให้เราประหยัดค่าไฟในระยะยาวได้ดีกว่านั้นเอง

นอกจากนั้น เว็บนี้ ก็ได้มีวิธีการคิดค่าไฟแบบคร่าวๆต่อเดือน โดยแบ่งตามขนาด Btu/hr เทียบกับ ฉลากไฟเบอร์ 5 ให้ดูอีกด้วย

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments
0
Would love your thoughts, please comment.x
()
x